หลักและวิธีการตอบข้อสอบอัตนัยวิชากฎหมายระดับปริญญาโท (ตอนที่ 2)
ขั้นตอนและวิธีการตอบข้อสอบอัตนัย
ขั้นแรก จับประเด็นปัญหา
อ่านโจทย์ให้เข้าใจ จับใจความให้ได้ว่า โจทย์กำลังถามเรื่องอะไร
จากการประมวลเนื้อหาสาระของชุดวิชา 41716 กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง เราต้องคิดให้ออกว่า เนื้อหาแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ เนื้อหา (cluster)
กลุ่มเนื้อหาที่ 1 เนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีทางกฎหมายอาญา โจทย์อาจจะถามในเรื่องต่อไปนี้ เช่น
- โจทย์ถามเรื่อง ปรัชญาและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาตามแนวทฤษฎีของซีซาร์ เบคคาเรียร์ (Cesare Beccaria)
- โจทย์ถามเรื่อง ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดทางอาญาตามแนวทฤษฎีของ จอห์น สจ๊วต มิล (John Stuart Mill) ที่นำมาพัฒนาเป็นทฤษฎีการป้องกันการกระทำที่อาจเป็นภยันตรายต่อผู้อื่น
-โจทย์ถามแนวคิดเรื่อง ภยันตรายต่อผู้อื่น (Harm to others)
- หลักการกำหนดความผิดอาญาตามแนวคิดของศาสตราจารย์ เฮอเบิร์ต แอล แพ็กเกอร์ (Herbert L Packer)
- โจทย์ถามเรื่อง ความแตกต่างระหว่างระบบกฎหมายคอมมอนลอว์กับระบบกฎหมาย
ซีวิลลอว์
- โจทย์ถามเรื่อง โครงสร้างความรับผิดทางอาญาในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
- โจทย์ถามเรื่อง โครงสร้างความรับผิดทางอาญาในระบบกฎหมายซีวิลลอว์
- โจทย์ถามเรื่อง หลักยกเว้นความผิดทางอาญา
- โจทย์ถามเรื่อง หลักยกเว้นโทษทางอาญา
- โจทย์ถามเรื่อง ทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
- ทฤษฎีเงื่อนไข
- ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม
เหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้
- ทฤษฎีความรับผิดในทางภาวะวิสัย
กลุ่มเนื้อหาที่ 2 ทฤษฎีทางอาชญาวิทยา โจทย์อาจจะถามในเรื่องต่อไปนี้ เช่น
1. ทฤษฎีอาชญาวิทยาของสำนักคลาสสิค (ซีซาร์ เบคคาเรีย)
- ทฤษฎีการลงโทษเพื่อป้องกันสังคม
- ทฤษฎีการลงโทษเพื่อการข่มขู่ยับยั้ง
- ทฤษฎีเจตจำนงอิสระ (Free Will)
- ทฤษฎีฮีโนิสซึ่ม (Hedonism)
2. ทฤษฎีอาชญาวิทยาของสำนักปฏิฐานนิยม
- ทฤษฎีของสำนักอิตาเลียน ได้แก่ ทฤษฎีว่าด้วยอาชญากรโดยกำเนิด(Born Criminal) (โดย ซีซาร์ ลอมโบรโซ)
- ทฤษฎีอาชญาวิทยาของสำนักชิคาโก
- ทฤษฎีการส่งผ่านค่านิยมทางวัฒนธรรม (The transmission of Cultural Value)
- ทฤษฎีการขยายตัวจากศูนย์กลางเดียวกัน (การขยายตัวแบบวงกลม) (Theory of Concentric Circle) ของ เออร์เนส เบอร์เกส (Ernest Burgess)
- ทฤษฎีความไร้ระเบียบทางสังคม (Theory of Social Disorganization)
3. ทฤษฎีอาชญาวิทยาในมิติสังคมวิทยาเชิงโครงสร้างหน้าที่
- ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่กับอาชญากรรม
- ทฤษฎีอโนมี
- ทฤษฎีความตึงเครียด
- ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
4. ทฤษฎีอาชญาวิทยาในมิติสังคมวิทยาเชิงความสัมพันธ์
4.1 - ทฤษฎีความสัมพันธ์ที่แตกต่าง
- ทฤษฎีอาชญาวิทยาว่าด้วยการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ได้แก่
- ทฤษฎีวัฒนธรรมหลัก-วัฒนธรรมรองกับอาชญากรรม
- ทฤษฎีจุดร่วมแห่งความสนใจ (6 ประการ คือ ความศรัทธา ความเป็นอิสระ ความทุกข์ยาก ความเหนียวแน่นอดทน ความตื่นเต้น และความชาญฉลาด) ของวอลเตอร์ เบ็นสัน มิลเลอร์
- ทฤษฎีวัฒนธรรมย่อยของการกระทำผิด ของ อัลเบิร์ต โคเฮน
- ทฤษฎีการตีตรา (Label Theory)
- ทฤษฎีอาชญาวิทยาแบบบูรณาการ
5. ทฤษฎีการลงโทษ
- ทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน
- ทฤษฎีการลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้ง
- ทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู
กลุ่มเนื้อหาที่ 3 การบูรณาการเนื้อหาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โจทย์อาจจะถามในเรื่องต่อไปนี้ เช่น
อาชญากรรม (อาชญาวิทยา) - สาเหตุของการกระทำผิด/การก่ออาชญากรรม - เหยื่ออาชญากรรม - การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม - การกำหนดความผิดอาญาให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน - โครงสร้างความรับผิดทางอาญา - แนวคิดในการแก้ไขผู้กระทำผิด - นโยบายทางอาญา - การแก้ไขกฎหมายอาญา - การบังคับใช้กฎหมายอาญา
กลุ่มเนื้อหาที่ 4 กระบวนการยุติธรรมทางเลือก โจทย์อาจจะถามในเรื่องต่อไปนี้ เช่น
1. กระบวนการยุติธรรมเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด
2. กระบวนการยุติธรรมเพื่อแก้ไขเยียวยาผู้เสียหายและเหยื่ออาชญากรรม
3. กระบวนการยุติธรรมเพื่อแก้ไขให้ชุมชนกลันคืนสู่สภาพดีดังเดิมหรือดียิ่งขึ้น
4. ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
5. ยุติธรรมชุมชน
ขั้นที่ 2 กำหนดประเด็นปัญหาตามที่โจทย์กำหนด
ขั้นที่ 3 การเลือกทฤษฎีที่เหมาะสม
ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์และอธิบายปัญหาตามโจทย์ทีละประเด็น โดยอาศัยทฤษฎี (Theory) หลักการ (Principles) และการอ้างอิง ข้อมูลสนับสนุน อย่างหนักแน่น เชื่อถือได้
ขั้นที่ 5 การสรุปผลการวิเคราะห์และอธิบาย อย่างครบถ้วนทุกประเด็น
(ยังมีต่อ)
รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
24 เมษายน 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น